รายละเอียด
ประวัติน้ำปลาร้า
- เป็นตำนานการหมักตามสูตรโบราณจากบรรพบุรุษกว่า 30 ปี มี เกลือ รำข้าวอ่อน ข้าวคั่วบดละเอียด ปลาร้าที่ได้จะมีสีน้ำตาลออกแดง กลิ่นหอมนุ่มนวลชวนรับประทานพร้อมผสมน้ำใบหม่อน ทำให้มีรสชาติกลมกล่อมเป็นความนัวจากธรรมชาติ ทำให้น้ำปลาร้าใบหม่อน มีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งแคลเซียม โปรตีน และ มีวิตามินซี วิตามินบี วิตามินเอ จากใบหม่อนอีกด้วย ซึ่งถือได้ว่า “น้ำปลาร้าใบหม่อน เป็นน้ำปลาร้าที่มากกว่าน้ำปลาร้า” จริงๆ
หม่อน (mulberry) หรือมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus alba
- มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน มีอายุนานได้มากกว่า 100 ปี สำหรับประเทศไทยพบมีการปลุกมากในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อการผลิตเส้นใยไหม และผ้าไหม มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคอีสานเรียก มอน ภาษาจีนเรียก ซังเยี่ย เป็นต้นลักษณะเด่นของหม่อนเป็นไม้ทรงพุ่ม สูงประมาณ 2-5 ม. ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-15 ซม. ด้านขอบใบมีรอยหยัก ใบมีลักษณะสาก ส่วนดอกมีสีขาวหม่นหรือแกมเขียว ออกเป็นช่อ ผลมีลักษณะเป็นผลรวม เมื่อสุกจะมีสีแดง สีม่วงแดง สุกมากจะมีสีดำ ตามลำดับ มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ใบสดเมื่อนำใบมาเคี้ยวสดๆจะมีรสหวานอมขมเย็นเล็กน้อย บางท้องถิ่นนำมากินสด
สูตรน้ำปลาร้าใบหม่อน
- เป็นสูตรใส่ ต้ม ยำ ตำ แกง รสชาติเข้มขัน มีกลิ่นหอมโหน่ง(กลิ่นเฉพาะของปลาร้า) ชวนให้รับประทาน
- เอกลักษณ์ของสูตรใบหม่อนคือ มีส่วนผสมของน้ำต้มใบหม่อน ทำให้รสชาติมี ความกลมกล่อม หอมหวานนัวอร่อยมากยิ่งขึ้น ช่วยลดน้ำตาลลง จึงทำให้น้ำปลาร้าสูตรผสมน้ำใบหม่อนมีรสชาติที่ลงตัวอย่างที่สุด
สรรพคุณใบหม่อน
- – มีสารต้านอนุมูลอิสระ ชื่อ Anthyocyanin ซึ่งเป็นสารสีม่วงแดงช่วยป้องกัน โรคหัวใจและโรคมะเร็ง
- – มีวิตามินบี 6 ช่วยบำรุงเลือด บำรุงตับ บำรุงไต ลดการเกิดสิว
- – มีวิตามินชีสูง ช่วยป้องกันโรคหวัด โรคภูมิแพ้ โรคปอด
- – มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจก บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ
- – มีกรดโฟลิค หรือวิตามินเอ็ม ป้องกันโรคโลหิตจางใช้แก้อาการเวียนศีรษะ หูอื้อ ใจสั่น นอนไม่หลับ เบาหวาน ท้องผูกช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำป้องกันผมหงอกก่อนวัย
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์